ชีวิตของประเทศผ่านภาพถ่ายเก่า
ประเทศจีนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความวุ่นวาย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันกษัตริย์, สถาบันการปกครองอย่างขุนนางที่ทำหน้าที่บริหารประเทศต่างพระเนตรพระกรรณ, สถาบันทางศาสนา, สถาบันเล็กๆอย่างสถาบันครอบครัว หรือแม้กระทั่งสังคมการใช้ชีวิตก็เปลี่ยนไป หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปที่พลิกโฉมหน้าของโลกที่เรารู้จักไปตลอดกาล และการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิตะวันตก จีนพยายามก้าวตามความเปลี่ยนแปลงของโลกในครั้งนี้ แต่ด้วยความเน่าเฟะและการหลงในอำนาจของคณะผู้ปกครอง, ความล้าหลังของกฎหมายและกฎเกณฑ์ทางสังคม ได้เป็นตัวฉุดรั้งให้การพัฒนาเปลี่ยนแปลงของจีนไม่ประสบผลสำเร็จ ท้ายที่สุดตามมาด้วยการล่มสลาย ประชาชนจีนที่ถือได้ว่าเป็นพละกำลังสำคัญในประเทศ กลับกลายเป็นผู้ป่วยของสังคมจากการเผชิญภัยธรรมชาติ ความอดอยาก และติดฝิ่น ดินแดนจีนอันกว้างใหญ่ถูกหั่นแบ่งไปทีละเล็กทีละน้อยด้วยน้ำมือของชาวตะวันตก รวมถึงชาวเอเชียผู้พัฒนาตนเองอย่างก้าวกระโดดเช่น จักรวรรดิจีน ในท้ายที่สุด จักรวรรดิชิง หรือประเทศของชาวแมนจูก็ได้ตกต่ำลงจนนานาประเทศต่างก็คาดว่า จีนจะหายไปจากแผนที่โลกอย่างแน่นอน
ราวปี ค.ศ. 1880 – 1950 นับเป็นยุคมืดอย่างแท้จริงของประเทศจีน ความแห้งแล้ง ความอดอยาก ภัยสงคราม ฯลฯ ได้ปกปิดประเทศนี้ไว้จากสายตานานาชาติ น้อยคนนักจะได้ประสบพบเห็นถึงหายนะครั้งนี้ของประเทศจีนไว้ มีเพียงนักข่าวสงคราม หรือนักข่าวในเมืองใหญ่ๆของประเทศจีนเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้ลั่นชัตเตอร์ เผยแพร่ภาพข่าวอันน่าหดหู่ใจของประเทศจีนให้สังคมโลกได้เห็นกับตาตนเอง
ดังเช่นที่ กรกิจ ดิษฐาน ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “สูญแผ่นดินสิ้นอำนาจ” ว่า “หลังจากเกิดความล้มเหลวทางการคลังและการฉ้อราษฎร์บังหลวง เหล่านี้คือรากเหง้าอันชั่วร้ายที่บั่นทอนราชวงศ์ชิงหลังจากนั้น และในขณะที่การปกครองระส่ำระสายจากปัญหาทางการคลัง ประชากรจีนกลับเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์จาก 100 ล้านคน ก่อนรัชสมัยเฉียนหลง มาอยู่ที่ 300 ล้านคน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน อายุขัยของประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่ประชากรที่ล้นประเทศก็ทำให้ความยากจนยิ่งทวีคูณ แต่ทว่าทางการกลับเก็บภาษีหนักหน่วงยิ่งขึ้น จึงกลายเป็นมูลเหตุแห่งความหายนะทั้งหลายของประเทศจีน”
ทว่าเรากลับไม่พบภาพถ่ายในช่วงเวลาแห่งความร่วงโรยของต้าชิงนี้มากนัก หลักฐานส่วนใหญ่มักปรากฏจากบันทึกและปากคำของบุคคลร่วมสมัย ที่บางครั้งควยามชมขื่นที่ได้ประสบกลับทำให้อยากลืมและไม่ปรารถนาที่จะเอ่ยถึง นั่นยิ่งทำให้ประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้กลับมืดมนไปกว่าเดิม
จึงเป็นเรื่องที่น่าดีใจอยู่ไม่น้อย ที่เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ปี 2021 นี้มี ข่าวชาวอเมริกันพบภาพประเทศจีนเก่าๆ เหล่านี้ในกล่องรองเท้าที่ไม่ทราบที่มาที่ไปว่าได้มาจากไหน ซึ่งในกล่องรองเท้านี้บรรจุไปด้วยภาพถ่ายเก่ามากมายจำนวนเกือบครึ่งร้อยภาพ โดยภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตของผู้คน สีสันในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ที่ฉายภาพให้เห็นประเทศจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย จนถึงช่วงก่อตั้งสาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ. 1949 จึงกล่าวได้ว่ามูลค่าของภาพถ่ายเหล่านี้ เป็นสมบัติของโลกที่ประเมินค่าไม่ได้นั่นเอง
从清末至1949年的民国百姓生活照片珍贵之处可想而知。它的每张照片价值远比我们买一栋房子还要贵重,价值连城。
คุณสามารถจินตนาการถึงความล้ำค่าของภาพถ่ายชีวิตของผู้คนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิงตอนปลายจนถึงสาธารณรัฐจีนในปี 1949 มูลค่าของภาพถ่ายแต่ละภาพนั้นแพงกว่าที่เราซื้อบ้านมาก และมันประเมินค่าไม่ได้

1900 年,北京,八国士兵穿过午门进入紫禁城。 ในปี 1900 ในกรุงปักกิ่ง ทหารจากแปดชาติได้เข้าไปในพระราชวังต้องห้ามผ่านประตูอู่เหมิน

1927 年,某市街头上,一名被饿死的小乞丐。 ในปี 1927 ขอทานตัวน้อยอดอาหารตายบนถนนในเมืองหนึ่ง

1917年,四川,脖子上挂13500个铜板路人。 铜钱贬值,物价上涨,购物时不得不背上几十斤重的铜钱串。 ในปี 1917 ในมณฑลเสฉวน ผู้สัญจรไปมา 13500 คนพร้อมแผ่นทองแดงห้อยคอ เหรียญทองแดงอ่อนค่าลงและราคาก็สูงขึ้น ดังนั้นคุณต้องพกเหรียญทองแดงหลายสิบกิโลกรัมไว้บนหลังของคุณเมื่อคุณซื้อสินค้า

街头理发师用铁黄或锁子招引顾客。 照片大约拍摄于1933-1946之间。 ช่างตัดผมข้างถนน ภาพถูกถ่ายเมื่อประมาณปี 1933 ถึงปี 1946

1870年,厦门,夫妻站立肖像。 ภาพเหมือนของคู่รักยืนอยู่ในเซียะเหมินในปี 1870

清末学堂内,放学后,学生给私塾先生作揖。 บรรยากาศโรงเรียนปลายราชวงศ์ชิง หลังเลิกเรียน เหล่านักเรียนได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ก่อนเลิกเรียน

江浙某地,算命。照片大约拍于1880-1890年代。 ดูดวงที่ไหนสักแห่งในมณฑลเจียงซูและเจ้อเจียง ภาพถูกถ่ายเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1880-1890

1890年代,移居美国奥勒冈州的中国移民全家福。 ภาพครอบครัวของผู้อพยพชาวจีน (หรือาจเป็นคณะทูต) ที่ย้ายไปยังรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา ในปี 1890

1900年,台湾原住民——布农族。 ในปี 1900 ชนพื้นเมืองในเกาะไต้หวัน

1911年,福建省福州市,出嫁的新娘。 สาวที่แต่งงานแล้วในเมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน ในปี 1911

1917年,小贩在故宫内卖大碗茶。 ในปี 1917 พ่อค้าขายเครื่องกระเบื้อง ทองเหลือง ถ้วยชามในเขตรอบพระราชวังต้องห้าม

1927年6月,上海商业印刷厂,工人在刻写用来彩印的石版。 该公司男女雇员逾3000人,福利相当不错。 ในเดือนมิถุนายน ปี 1927 คนงานที่โรงงาน Shanghai Commercial Printing Factory ได้แกะสลักภาพพิมพ์หินสำหรับการพิมพ์สี บริษัทมีพนักงานชายและหญิงมากกว่า 3,000 คน

1941年,代写书信营生的先生。 ในปี 1941 อาชีพคนรับเขียนจดหมายแก่ผู้ที่เขียนไม่ได้ ซึ่งเจอมากมายตามท้องถนน

1949年,上海,一个乞丐在英国大使馆门前饥饿痛苦的啃树皮。 ในปี 1949 ในเซี่ยงไฮ้ ขอทานกำลังหิวและเคี้ยวเปลือกอย่างขมขื่นต่อหน้าสถานทูตอังกฤษ

1949年5月,上海,逃难者挤在一艘将驶向宁波的美国海军货船上。 ในเดือนพฤษภาคม ปี 1949 ท่าเรือหนิงโป ผู้ลี้ภัยแออัดบนเรือบรรทุกสินค้าของกองทัพเรือสหรัฐฯ
แม้ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปที่เราจะค้นหาภาพถ่ายเก่าจากเมื่อศตวรรษที่แล้ว ภาพหลายล้านภาพได้ถูกอัพโหลดสู่ระบบดิจิทัลโดยสถาบันต่างๆ ทั่วโลกแล้วมอบให้เป็นสมบัติสาธารณะ
แต่ไม่ใช่ภาพทุกภาพจากศตวรรษก่อนจะผ่านสายตาของเราจนหมดสิ้นแล้ว ยังมีอีกนับไม่ถ้วนที่หลบซ่อนอยู่ในมุมหนึ่งของบ้าน คลังหอสมุด หรือในร้านโบราณวัตถุ นอกจากภาพชุดประวัติศาสตร์ของจีนที่เพิ่งค้นพบจากซีกโลกตะวันตกชุดนี้แล้ว ยังมีอีกหนึ่งอัลบั้มภาพประวัติศาสตร์จีนชุดสำคัญอีกชุดที่เพิ่งถูกกู้ขึ้นมาจากกองเถ้าถ่านของเวลาในเมืองไทยเรานี้เอง ที่สำคัญยังเป็นอัลบั้มในยุคเปลี่ยนผ่านของราชสำนักต้าชิงไปสู่ยุคสาธารณรัฐที่หาได้ยากยิ่ง นั่นก็คืออัลบั้มภาพของหนังสือ สูญแผ่นดิน สิ้นอำนาจ : วาระสุดท้ายของแมนจูจากภาพถ่ายที่พบในสยาม (When The Mighty Dragon Falls: A Pictorial Journey of China Unearthed in Siam)
ภาพเมืองจีนที่ค้นพบในเมืองไทยนี้สำคัญอย่างไร? จากการวิเคราะห์ข้อมูลแวดล้อม ภาพเหล่านี้ไม่ใช่แค่อัลบั้มภาพธรรมดา แต่อาจเรียกได้ว่าเป็น Photojournalism ชิ้นแรกๆ ที่ถูกพบในสยาม สันนิษฐานว่า ภาพเหล่านี้อาจถ่ายโดยบุคคลสำคัญของประเทศสยามในคณะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ที่เดินทางไปดูงานด้านการทหารในเอเชียตะวันออกหลังจากที่ญี่ปุ่นเอาชนะรัสเซียได้หมาดๆ และกำลังจะกลืนคาบสมุทรเกาหลีเป็นอาณานิคม พร้อมทั้งยังสยายปีกเข้าไปกุมอำนาจแผ่อิทธิพลในตอนเหนือของจีน
ภาพเหล่านี้จึงทำให้เราตามแกะรอยปริศนาเบื้องหลังของภาพ ย้อนไปถึงจุดเปลี่ยนในความสัมพันธ์ของสยามกับมหาอำนาจในเอเชีย จากจีนสู่ญี่ปุ่น ผ่านสายตาของช่างภาพผู้บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นบนเส้นทางการขยายอำนาจของญี่ปุ่นเหนือจีนแผ่นดินใหญ่ ภายใต้การเฝ้ามองอย่างใกล้ชิดของชนชั้นนำชาวสยามเพื่อวางหมากบนกระดานการเมืองโลกที่พร้อมจะพลิกผันได้อยู่เสมอในห้วงเวลาแห่งความวุ่นวายนั้น
เพื่อรักษาหน้าประวัติศาสตร์เหล่านี้ไม่ให้หายไปตามกาลเวลาอีกครั้ง จึงได้มีการถ่ายทอดภาพต้นฉบับเหล่านี้ด้วยเทคโนโลยีการถ่ายภาพความละเอียดสูง พร้อมเทคนิคการพิมพ์ที่ทันสมัย จัดพิมพ์เป็นหนังสือพร้อมบทวิเคราะห์อย่างเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเมืองจีนอย่าง กรกิจ ดิษฐาน เป็นหนังสือสี่สี บนกระดาษอาร์ตคุณภาพดีจากต่างประเทศ รูปเล่มขนาดใหญ่ หุ้ม Jacket สวยงามภาพประกอบมากกว่า ๒๐๐ ภาพ มีคำบรรยายภาษาอังกฤษทุกภาพ พร้อมจัดทำบทกล่าวนำและบทสรุปของผู้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งจัดพิมพ์อัลบั้มต้นฉบับไว้ภายในเล่มอีกด้วย เพื่อให้ทุกท่านได้เพลิดเพลินกับสาระของเนื้อหาและชุดภาพประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ “สามเส้า” สยาม – จีน – ญี่ปุ่น ที่ค้นพบในครั้งนี้