สำนักพิมพ์สยาม เรเนซองส์ เข้ารับพระราชทานรางวัลชมเชย ในการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๐ จากหนังสือ “สมุดตราสะสมเจ้าจอมเลียม ในรัชกาลที่ ๕”

๒๙ มีนาคม ๒๕๖๐ – สำนักพิมพ์สยาม เรเนซองส์ และคณะผู้จัดทำหนังสือ “สมุดตราสะสมเจ้าจอมเลียม ในรัชกาลที่ ๕” ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลชมเชย ในการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๐ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการนี้สำนักพิมพ์สยาม เรเนซองส์ และคณะผู้จัดทำได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายหนังสือ “สมุดตราสะสมเจ้าจอมเลียม ในรัชกาลที่ ๕” อีกด้วย

สมุดภาพสยามเรเนซองส์ : ความทรงจำแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒ REMINISCENCE OF RATTANAKOSIN Vol.2 (1851 – 1911)

ได้รับคัดเลือกเป็นหนังสือรางวัลชมเชย ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป การประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หนังสือ “สมุดภาพสยามเรเนซองส์ : ความทรงจำแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒ – Reminiscence of Rattanakosin Vol.2 (1851 – 1911)” อันเกิดขึ้นจากการคัดเลือกภาพถ่าย ภาพพิมพ์ ภาพเขียน และเอกสารโบราณในกรรมสิทธิ์ของบริษัท สำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์ จำกัด โดยได้รับเกียรติอีกครั้งจากหม่อมหลวงภัคภรจันท์ เกษมศรี กรุณาคัดเลือกเอกสารชั้นต้นประกอบขึ้นเป็นเนื้อหา

สมุดภาพสยามเรเนซองส์ : ความทรงจำแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑ REMINISCENCE OF RATTANAKOSIN Vol.1 (1851 – 1911)

หนังสือดีเด่น ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หนังสือเล่มนี้ได้คัดสรรภาพถ่ายและภาพพิมพ์สมัยรัชกาลที่ ๔ – ต้นรัชกาลที่ ๖ จำนวนกว่า ๘๐ ภาพ ในกรรมสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์ นำมาวิเคราะห์เรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ และคลี่คลายเหตุการณ์เบื้องหลังภาพโบราณเหล่านั้นด้วยเอกสารชั้นต้น เพื่อฉายภาพความทรงจำแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ให้กระจ่างยิ่งขึ้น เติมเต็มจินตนาการ และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจต่อบ้านเมืองและวิถีชีวิตผู้คนในยุคสมัยนั้น

หนังสือใหม่ กรุงเก่าเมื่อกาลก่อน ภาพถ่าย ๑๐๐ ปี พระนครศรีอยุธยา (Ayudhya: A Pictorial Odyssey 1907 – 1920)

เนื่องในวาระที่นครประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมาครบ
๒๐ ปี สำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์ ได้เปิดตัวหนังสือเล่มใหม่
“กรุงเก่าเมื่อกาลก่อน ภาพถ่าย ๑๐๐ ปี พระนครศรีอยุธยา” ผู้เขียน (อรรถดา คอมันตร์) ได้นำสมุดแสดงภาพพระนครศรีอยุธยาที่นายออน มหาดเล็ก ช่างภาพหลวงได้มอบไว้แก่พระยาประเสนชิตศรีพิไลย (ดัด บุนนาค) ผู้เป็นทวดของผู้เขียน และภาพถ่ายเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น ณ เมืองกรุงเก่ามาจัดพิมพ์สองภาษา (ไทย – อังกฤษ)

สำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์ ได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป พระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์ มีความปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ “สมุดภาพความทรงจำ
เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง (SIAM : Days of Glory) ได้รับคัดเลือกเข้าประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2554 และได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์ เปิดตัว สมุดภาพความทรงจำ เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง

เนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ สำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์ ได้จัดทำสมุดภาพ
Siam: Days of Glory (สมุดภาพความทรงจำ เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง)
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อปวงชนชาวไทย

เรือนอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘

“เรือนประเสนชิต” เรือนไม้สักทองทรงปั้นหยาสีเขียวไข่กาที่โดดเด่นเป็นสง่าอยู่ท่ามกลางหมู่มวลเรือนไทยของ วิลล่า มูเซ่ สมศักดิ์ศรีรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งได้จัดแสดงเครื่องเรือน ศาสตราวุธ ของประดับ และเอกสารโบราณร่วมสมัยวิคตอเรียน – โคโลเนียนในสยาม
(รัชกาลที่ ๕-๖)

พิธีมอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติ “วัฒนคุณาธร” ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๓

คุณอรรถดา คอมันตร์ กรรมการบริหารสำนักพิมพ์สยาม เรเนซองส์ ได้รับมอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติ “วัฒนคุณาธร” ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรมที่มีผลงานส่งเสริม สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงวัฒนธรรม ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน

“M.B.S.” ตัวอย่างธรรมเนียมการใช้ตรา ร่วมกันทั้ง “ฝ่ายหน้า” และ “ฝ่ายใน” ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕

อักษรพระนามและนามร่วมกันทั้ง “ฝ่ายหน้า” และ “ฝ่ายใน” รู้หรือไม่ว่า ในอดีตนั้นมีธรรมเนียมการผูกตราประจำพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ โดยใช้อักษรพระนามและอักษรนามร่วมกันกับ “ฝ่ายใน” ของเจ้านายพระองค์นั้นๆ ซึ่งมักจะใช้ตราเหล่านี้ในวาระโอกาส “อย่างลำลอง” เช่นพระราชหัตถเลขา ลายพระหัตถ์ส่วนพระองค์ หรือในวาระเหตุการณ์เนื่องในฝ่ายในพระองค์ / ท่านนั้นๆ

รู้หรือไม่ ! พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงเคย “ตกรางวัล” ให้ควาญช้างชาวสยามด้วย “พระธำมรงค์มรกตกับเพชรจากนิ้วพระหัตถ์”

“…การรับเสด็จทายาทของเมืองรัสเซียในครั้งนี้ เล่ากันมาว่าเป็นการใหญ่อย่างไม่เคยมี สิ่งไรที่ดีของไทยได้ทำถวายหมด แม้แต่ม่านก็ทำด้วยดอกไม้สดตามวิชาช่างของผู้หญิงไทย จนมีศัพท์ขึ้นใหม่เมื่อเห็นใครทำอะไรใหญ่โต ก็ถามกันว่า “รับซารวิชหรือวันนี้”
เสด็จพ่อทรงเล่าว่า เมื่อมีการรับเสด็จในกรุงเทพฯ แล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงให้มีการคล้องช้างอย่างไทยถวายซารวิชทอดพระเนตรที่เพนียดเก่าในกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนั้นกรมพระคชศาสตร์ (กองช้าง) อยู่ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ และผู้เชี่ยวชาญในการช้างก็ยังมีอยู่มาก จึงเป็นการน่าดูอย่างยิ่ง