“M.B.S.” ตัวอย่างธรรมเนียมการใช้ตรา ร่วมกันทั้ง “ฝ่ายหน้า” และ “ฝ่ายใน” ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕

อักษรพระนามและนามร่วมกันทั้ง “ฝ่ายหน้า” และ “ฝ่ายใน” รู้หรือไม่ว่า ในอดีตนั้นมีธรรมเนียมการผูกตราประจำพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ โดยใช้อักษรพระนามและอักษรนามร่วมกันกับ “ฝ่ายใน” ของเจ้านายพระองค์นั้นๆ ซึ่งมักจะใช้ตราเหล่านี้ในวาระโอกาส “อย่างลำลอง” เช่นพระราชหัตถเลขา ลายพระหัตถ์ส่วนพระองค์ หรือในวาระเหตุการณ์เนื่องในฝ่ายในพระองค์ / ท่านนั้นๆ

รู้หรือไม่ ! พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงเคย “ตกรางวัล” ให้ควาญช้างชาวสยามด้วย “พระธำมรงค์มรกตกับเพชรจากนิ้วพระหัตถ์”

“…การรับเสด็จทายาทของเมืองรัสเซียในครั้งนี้ เล่ากันมาว่าเป็นการใหญ่อย่างไม่เคยมี สิ่งไรที่ดีของไทยได้ทำถวายหมด แม้แต่ม่านก็ทำด้วยดอกไม้สดตามวิชาช่างของผู้หญิงไทย จนมีศัพท์ขึ้นใหม่เมื่อเห็นใครทำอะไรใหญ่โต ก็ถามกันว่า “รับซารวิชหรือวันนี้”
เสด็จพ่อทรงเล่าว่า เมื่อมีการรับเสด็จในกรุงเทพฯ แล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงให้มีการคล้องช้างอย่างไทยถวายซารวิชทอดพระเนตรที่เพนียดเก่าในกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนั้นกรมพระคชศาสตร์ (กองช้าง) อยู่ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ และผู้เชี่ยวชาญในการช้างก็ยังมีอยู่มาก จึงเป็นการน่าดูอย่างยิ่ง

“มังกรตายที่ปักกิ่ง” ปฐมเหตุแห่งการล่มสลายของราชวงศ์ชิง – เรื่องเล่าจากการศึกษาภาพเก่าของจีนที่ค้นพบในสยาม

“…มีภาษิตจีนกล่าวว่า “ความมั่งคั่งสืบทอดไม่ถึงสามรุ่น” คำกล่าวนี้ใช้ได้กับทั้งการสืบทอดธุรกิจครอบครัวและการสืบทอดความมั่งคั่งและมั่นคงของแผ่นดิน ในสมัยราชวงศ์ชิง มียุคสมัยที่รุ่งเรืองจนกล่าวกันว่าเป็นยุคทองครั้งสุดท้ายของศักดินาจีน คือรัชสมัยของพระเจ้าคังซี พระเจ้ายงเจิ้ง และพระเจ้าเฉียนหลง รวม ๓ รัชกาล ยาวนานถึง ๑๓๔ ปี

เรื่องของพระธิดา “สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” ประจำ “สำนักเรียนเป็นวิทยาลัย” ของฝ่ายในรัชกาลที่ ๕

“…ในสมัยก่อนรัชกาลที่ ๖ ขึ้นไปนั้น ในพระบรมมหาราชวัง คือมหาวิทยาลัยของผู้หญิงเรานี่เอง และตามตำหนักพระมเหสี เจ้านายและเจ้าจอมก็คือพวกสำนักเรียนเป็นวิทยา (Colleges) ของผู้หญิง เพราะการเล่าเรียนทุกชนิด ตั้งแต่อ่านเขียน เย็บเสื้อผ้า ปักสดึง ร้อยดอกไม้ ปอกลูกไม้ ทำกับข้าวของกิน ทั้งฝึกหัดกิริยาวาจา จะเรียนได้จากในวังทุกสิ่ง

พระราชสาส์น “ขอคำนับเจริญทางพระราชไมตรี” ถึงกรุงฝรั่งเศส ที่ส่งไปพร้อมเครื่องมงคลราชบรรณาการจากรัชกาลที่ ๔ กล่าวถึงอะไรบ้าง ?

พระราชสาส์นพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม
พระราชทานไปยังกรุงฝรั่งเศส ปี จ.ศ. ๑๒๑๘*

“…พระราชสาส์น ในสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระเจ้ากรุงรัตนโกสินทร์มหินทรายุทธยา ขอคำนับเจริญทางพระราชไมตรี มายังสำนักสมเด็จพระเจ้านโปเลียนที่สาม อัมเปรอ……ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ในพระราชอาณาจักรกรุงฝรั่งเศสให้ทรงทราบ