ชีวิตของประเทศผ่านภาพถ่ายเก่า
ประเทศจีนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความวุ่นวาย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันกษัตริย์, สถาบันการปกครองอย่างขุนนางที่ทำหน้าที่บริหารประเทศต่างพระเนตรพระกรรณ, สถาบันทางศาสนา, สถาบันเล็กๆอย่างสถาบันครอบครัว หรือแม้กระทั่งสังคมการใช้ชีวิตก็เปลี่ยนไป หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปที่พลิกโฉมหน้าของโลกที่เรารู้จักไปตลอดกาล และการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิตะวันตก จีนพยายามก้าวตามความเปลี่ยนแปลงของโลกในครั้งนี้ แต่ด้วยความเน่าเฟะและการหลงในอำนาจของคณะผู้ปกครอง, ความล้าหลังของกฎหมายและกฎเกณฑ์ทางสังคม ได้เป็นตัวฉุดรั้งให้การพัฒนาเปลี่ยนแปลงของจีนไม่ประสบผลสำเร็จ ท้ายที่สุดตามมาด้วยการล่มสลาย ประชาชนจีนที่ถือได้ว่าเป็นพละกำลังสำคัญในประเทศ กลับกลายเป็นผู้ป่วยของสังคมจากการเผชิญภัยธรรมชาติ ความอดอยาก และติดฝิ่น ดินแดนจีนอันกว้างใหญ่ถูกหั่นแบ่งไปทีละเล็กทีละน้อยด้วยน้ำมือของชาวตะวันตก รวมถึงชาวเอเชียผู้พัฒนาตนเองอย่างก้าวกระโดดเช่น จักรวรรดิจีน ในท้ายที่สุด จักรวรรดิชิง หรือประเทศของชาวแมนจูก็ได้ตกต่ำลงจนนานาประเทศต่างก็คาดว่า จีนจะหายไปจากแผนที่โลกอย่างแน่นอน
ราวปี ค.ศ. 1880 – 1950 นับเป็นยุคมืดอย่างแท้จริงของประเทศจีน ความแห้งแล้ง ความอดอยาก ภัยสงคราม ฯลฯ ได้ปกปิดประเทศนี้ไว้จากสายตานานาชาติ น้อยคนนักจะได้ประสบพบเห็นถึงหายนะครั้งนี้ของประเทศจีนไว้ มีเพียงนักข่าวสงคราม หรือนักข่าวในเมืองใหญ่ๆของประเทศจีนเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้ลั่นชัตเตอร์ เผยแพร่ภาพข่าวอันน่าหดหู่ใจของประเทศจีนให้สังคมโลกได้เห็นกับตาตนเอง
ดังเช่นที่ กรกิจ ดิษฐาน ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “สูญแผ่นดินสิ้นอำนาจ” ว่า “หลังจากเกิดความล้มเหลวทางการคลังและการฉ้อราษฎร์บังหลวง เหล่านี้คือรากเหง้าอันชั่วร้ายที่บั่นทอนราชวงศ์ชิงหลังจากนั้น และในขณะที่การปกครองระส่ำระสายจากปัญหาทางการคลัง ประชากรจีนกลับเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์จาก 100 ล้านคน ก่อนรัชสมัยเฉียนหลง มาอยู่ที่ 300 ล้านคน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน อายุขัยของประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่ประชากรที่ล้นประเทศก็ทำให้ความยากจนยิ่งทวีคูณ แต่ทว่าทางการกลับเก็บภาษีหนักหน่วงยิ่งขึ้น จึงกลายเป็นมูลเหตุแห่งความหายนะทั้งหลายของประเทศจีน”
ทว่าเรากลับไม่พบภาพถ่ายในช่วงเวลาแห่งความร่วงโรยของต้าชิงนี้มากนัก หลักฐานส่วนใหญ่มักปรากฏจากบันทึกและปากคำของบุคคลร่วมสมัย ที่บางครั้งควยามชมขื่นที่ได้ประสบกลับทำให้อยากลืมและไม่ปรารถนาที่จะเอ่ยถึง นั่นยิ่งทำให้ประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้กลับมืดมนไปกว่าเดิม
จึงเป็นเรื่องที่น่าดีใจอยู่ไม่น้อย ที่เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ปี 2021 นี้มี ข่าวชาวอเมริกันพบภาพประเทศจีนเก่าๆ เหล่านี้ในกล่องรองเท้าที่ไม่ทราบที่มาที่ไปว่าได้มาจากไหน ซึ่งในกล่องรองเท้านี้บรรจุไปด้วยภาพถ่ายเก่ามากมายจำนวนเกือบครึ่งร้อยภาพ โดยภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตของผู้คน สีสันในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ที่ฉายภาพให้เห็นประเทศจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย จนถึงช่วงก่อตั้งสาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ. 1949 จึงกล่าวได้ว่ามูลค่าของภาพถ่ายเหล่านี้ เป็นสมบัติของโลกที่ประเมินค่าไม่ได้นั่นเอง
从清末至1949年的民国百姓生活照片珍贵之处可想而知。它的每张照片价值远比我们买一栋房子还要贵重,价值连城。
คุณสามารถจินตนาการถึงความล้ำค่าของภาพถ่ายชีวิตของผู้คนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิงตอนปลายจนถึงสาธารณรัฐจีนในปี 1949 มูลค่าของภาพถ่ายแต่ละภาพนั้นแพงกว่าที่เราซื้อบ้านมาก และมันประเมินค่าไม่ได้
แม้ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปที่เราจะค้นหาภาพถ่ายเก่าจากเมื่อศตวรรษที่แล้ว ภาพหลายล้านภาพได้ถูกอัพโหลดสู่ระบบดิจิทัลโดยสถาบันต่างๆ ทั่วโลกแล้วมอบให้เป็นสมบัติสาธารณะ
แต่ไม่ใช่ภาพทุกภาพจากศตวรรษก่อนจะผ่านสายตาของเราจนหมดสิ้นแล้ว ยังมีอีกนับไม่ถ้วนที่หลบซ่อนอยู่ในมุมหนึ่งของบ้าน คลังหอสมุด หรือในร้านโบราณวัตถุ นอกจากภาพชุดประวัติศาสตร์ของจีนที่เพิ่งค้นพบจากซีกโลกตะวันตกชุดนี้แล้ว ยังมีอีกหนึ่งอัลบั้มภาพประวัติศาสตร์จีนชุดสำคัญอีกชุดที่เพิ่งถูกกู้ขึ้นมาจากกองเถ้าถ่านของเวลาในเมืองไทยเรานี้เอง ที่สำคัญยังเป็นอัลบั้มในยุคเปลี่ยนผ่านของราชสำนักต้าชิงไปสู่ยุคสาธารณรัฐที่หาได้ยากยิ่ง นั่นก็คืออัลบั้มภาพของหนังสือ สูญแผ่นดิน สิ้นอำนาจ : วาระสุดท้ายของแมนจูจากภาพถ่ายที่พบในสยาม (When The Mighty Dragon Falls: A Pictorial Journey of China Unearthed in Siam)
ภาพเมืองจีนที่ค้นพบในเมืองไทยนี้สำคัญอย่างไร? จากการวิเคราะห์ข้อมูลแวดล้อม ภาพเหล่านี้ไม่ใช่แค่อัลบั้มภาพธรรมดา แต่อาจเรียกได้ว่าเป็น Photojournalism ชิ้นแรกๆ ที่ถูกพบในสยาม สันนิษฐานว่า ภาพเหล่านี้อาจถ่ายโดยบุคคลสำคัญของประเทศสยามในคณะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ที่เดินทางไปดูงานด้านการทหารในเอเชียตะวันออกหลังจากที่ญี่ปุ่นเอาชนะรัสเซียได้หมาดๆ และกำลังจะกลืนคาบสมุทรเกาหลีเป็นอาณานิคม พร้อมทั้งยังสยายปีกเข้าไปกุมอำนาจแผ่อิทธิพลในตอนเหนือของจีน
ภาพเหล่านี้จึงทำให้เราตามแกะรอยปริศนาเบื้องหลังของภาพ ย้อนไปถึงจุดเปลี่ยนในความสัมพันธ์ของสยามกับมหาอำนาจในเอเชีย จากจีนสู่ญี่ปุ่น ผ่านสายตาของช่างภาพผู้บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นบนเส้นทางการขยายอำนาจของญี่ปุ่นเหนือจีนแผ่นดินใหญ่ ภายใต้การเฝ้ามองอย่างใกล้ชิดของชนชั้นนำชาวสยามเพื่อวางหมากบนกระดานการเมืองโลกที่พร้อมจะพลิกผันได้อยู่เสมอในห้วงเวลาแห่งความวุ่นวายนั้น
เพื่อรักษาหน้าประวัติศาสตร์เหล่านี้ไม่ให้หายไปตามกาลเวลาอีกครั้ง จึงได้มีการถ่ายทอดภาพต้นฉบับเหล่านี้ด้วยเทคโนโลยีการถ่ายภาพความละเอียดสูง พร้อมเทคนิคการพิมพ์ที่ทันสมัย จัดพิมพ์เป็นหนังสือพร้อมบทวิเคราะห์อย่างเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเมืองจีนอย่าง กรกิจ ดิษฐาน เป็นหนังสือสี่สี บนกระดาษอาร์ตคุณภาพดีจากต่างประเทศ รูปเล่มขนาดใหญ่ หุ้ม Jacket สวยงามภาพประกอบมากกว่า ๒๐๐ ภาพ มีคำบรรยายภาษาอังกฤษทุกภาพ พร้อมจัดทำบทกล่าวนำและบทสรุปของผู้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งจัดพิมพ์อัลบั้มต้นฉบับไว้ภายในเล่มอีกด้วย เพื่อให้ทุกท่านได้เพลิดเพลินกับสาระของเนื้อหาและชุดภาพประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ “สามเส้า” สยาม – จีน – ญี่ปุ่น ที่ค้นพบในครั้งนี้