กรมศิลปากรร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์จัดงาน Night Museum และ
มหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทย 16-19 กันยายน 2566
ย้อนหลังไป 149 ปี เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2517 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เปิดพิพิธภัณฑ์หลวง ณ หอคองคอเดีย ภายในพระบรมมหาราชวังให้ประชาชนเข้าชมเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา นับเป็นวันกำเนิดพิพิธภัณฑ์สำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมา พ.ศ.2538 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ กำหนดให้วันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเป็นโอกาสให้องค์กรด้านพิพิธภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมเผยแพร่ภารกิจแก่สังคมในฐานะแหล่งเรียนรู้สำคัญของชาติ
ในปี พ.ศ.2566 กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จึงได้ร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ 20 แห่งจัดกิจกรรมมหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทย ระหว่างวันที่ 16 -19 กันยายน ภายใต้แนวคิด “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน และอาคารมหาสุรสิงหนาทพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
โดยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพุทธศักราช ๒๔๑๗ ฮ่อธงเหลือง* เข้ามาปล้นสะดมในเขตสิบสองจุไท, หัวพันห้าทั้งหก และเมืองพวน* เมื่อทำการปล้นสะดมแล้วได้แบ่งกองทัพ ให้กองทัพหนึ่งนำโดยลิวสิกอ ทรัพกอ ฟาลองกอ ซินซือเหยียงไปตีเมืองหนองคายประมาณ ๕๐๐ คน กองทัพหนึ่งนำโดยกวานหลวงไปตีหลวงพระบางประมาณ ๖๐๐ คน ให้ปักอึงโกอยู่รักษาทุ่งเชียงคำ (ปัจจุบันคือทุ่งไหหิน) กรมการเมืองหนองคายได้ทราบความจากพวกท้าวขุนเมืองพวนที่แตกหนีเข้ามาเมืองหนองคาย จึงบอกเข้ามายังกรุงเทพฯ ถึงพร้อมกับใบบอกเจ้านครหลวงพระบาง ขณะนั้นพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) เป็นข้าหลวงขึ้นไปสักเลขอยู่ในมณฑลอุบล จึงโปรดฯ ให้พระยามหาอำมาตย์เกณฑ์กำลังมณฑลอุดร มณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล เป็นกองทัพหนึ่ง ให้พระยานครราชสีมา (เมฆ) เกณฑ์กำลังนครราชสีมาเป็นกองทัพอีก
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวถึงแนวคิดการจัดงานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทยประจำปี พ.ศ. 2566 ว่ากรมศิลปากรให้ความสำคัญกับการดูแลรักษา Collection หรือวัตถุพิพิธภัณฑ์ และการจัดการองค์ความรู้ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของพิพิธภัณฑ์ทุกแห่งในโลก เพื่อการนำเสนอและเผยแพร่สรรพวิทยาการความรู้แก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ กรมศิลปากรเองก็ได้มีพิธีเปิดคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อันเป็นสถานที่จัดเก็บ อนุรักษ์โบราณวัตถุตามมาตรฐานพิพิธภัณฑ์สากล และกำหนดวิธีการให้บริการศึกษาค้นคว้าโบราณวัตถุที่เหมาะสมกับภารกิจหลักในการปกป้องคุ้มครองโบราณวัตถุอันเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน ตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โดยจะเปิดให้บริการศึกษาค้นคว้าเสมือนห้องสมุดโบราณวัตถุ ในวันพิพิธภัณฑ์ไทยปีนี้ คือวันที่ 19 กันยายน 2566
ในการจัดงานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทยครั้งนี้ อธิบดีพนมบุตร จึงมอบหมายให้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชิญชวนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ต่างๆ มาร่วมกันเผยแพร่ความรู้ ภารกิจการอนุรักษ์ ดูแลรักษาวัตถุพิพิธภัณฑ์ และการจัดการความรู้ของแต่ละพิพิธภัณฑ์ ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 16 -19 กันยายน 2566
ในบริเวณนิทรรศการ ยังเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมปฏิบัติการอนุรักษ์โบราณวัตถุศิลปวัตถุ และสิ่งสะสมประเภทวัสดุกระดาษ โลหะ เช่น เหรียญเงิน เอกสารโบราณ ภาพถ่ายเก่า ภาพจิตรกรรมสีน้ำ เป็นต้น โดยประชาชนสามารถนำสิ่งสะสมของตนมาปฏิบัติการอนุรักษ์ด้วยตนเอง โดยมีวิทยากรเชี่ยวชาญอบรมให้ความรู้จากพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั้งนี้สามารถสำรองที่นั่งได้ทาง เฟสบุ๊คเพจ Thai Museum Day นอกจากนี้ยังมีเวทีบรรยายความรู้ เผยแพร่ภารกิจพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในบริเวณงานโดยวิทยากรจาก พิพิธภัณฑ์ต่างๆ มากกว่า ๒๐ พิพิธภัณฑ์
นอกจากนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยังได้เปิดให้ชมพิพิธภัณฑ์ ณ วังหน้าในยามค่ำหรือ Night Museum ไปจนถึงเวลา 20.00 น. โดยบริการรอบนำชม เวลา 17.00 น. และ 18.00 น. ตลอดวันที่ 17 – 19 กันยายน และจัดกิจกรรมพิเศษ “มหาคณปติบูชา” และตลาดอาร์ตทอยสร้างสรรค์พระคเณศ “ภัทรบูชา” ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท ติดตามรายละเอียดใน เฟสบุ๊คเพจ Education.National Museum Bangkok